ลักษณะพิเศษ

ยินดีต้อนรับเข้าสู้บ้านโขน

ยักษ์

โขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม มีประวัติยาวนานตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โขนยังรวมศาสตร์ และศิลป์ที่หลาหลาย ทั้งวรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ หัตถศิลป์ในปัจจุบันการแสดงโขนแบ่งออกได้ 5 ประเภท โขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก ทั้งนี้การแสดงโขนทุกประเภทก็มีพิธีกรรม และความเชื่อ ที่ต้องปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

โขนเป็นการแสดงที่น่าสนใจอย่างมาก ทั้งเรื่องการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะบทโขน ท่ารำที่ต้องแสดงความรู้สึกออกมาให้ชัดเจน และศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในการแสดง จึงต้องมีการคัดเลือกตัวละครตามข้อกำหนดต่างๆ และต้องฝึกฝนทุกวันให้เกินความชำนาญ

…เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งในราย วิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ในงานสารสนเทศ ได้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบพัฒนาเว็บไซต์  และได้หาข้อมูลที่สนใจ จึงจัดทำเว็บไซต์เรื่องโขนขึ้น เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และองค์ประกอบต่างๆในการแสดงโขน นอกจากนี้ ความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ ที่ถูกสืบทอดมาเกี่ยวกับโขน ก็มากมาย ทั้งการปฏิบัติของนักแสดง และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการแสดงก็มีเรื่องราวความเชื่อ…

ประเภทของหัวโขน

11

หัวโขนที่ใช้สำหรับแสดง แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของตัวละครคือ หัวโขนพงศ์นารายณ์ ประกอบด้วยเผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยาหัวโขนพรหมพงศ์และอสูรพงศ์ ประกอบด้วยพรหมผู้สร้างกรุงลงกาและอสูรพงศ์ในกรุงลงกา หัวโขนมเหศวรพงศ์ ประกอบด้วยพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและเทวดาต่าง ๆ หัวโขนฤๅษี ประกอบด้วยฤๅษีผู้สร้างกรุงอโยธยา ฤๅษีที่พระราม พระลักษมณ์และนางสีดาพบเมื่อคราวเดินดง หัวโขนวานรพงศ์ ประกอบด้วยพญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ เสนาวานร วานรเตียวเพชร วานรจังเกียงและพลลิงหรือเขนลิง หัวโขนคนธรรพ์ ประกอบด้วยเทพคนธรรพ์และคนธรรพ์ หัวโขนพญาปักษา ประกอบด้วยพญาครุฑ พญาสัมพาที พญาสดายุ และหัวโขนแบบเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วยหัวสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

และอาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 ประเภทคือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น ลิงยอด และลิงโล้นนอกจากนี้ยังแบ่งตามชนิดของมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป แบ่งเป็นฝ่ายลงกาคือ มงกุฎยอดกระหนก มงกุฎยอดจีบ มงกุฎยอดหางไก่ มงกุฎยอดน้ำเต้า มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง มงกุฎยอดกาบไผ่ มงกุฎยอดสามกลีบ มงกุฎยอดหางไหล มงกุฎยอดนาคา มงกุฎตามหัวหรือหน้า พวกไม่มีมงกุฎ พวกหัวโล้น พวกหัวเขนยักษ์หรือพลทหารยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์ 

ฝ่ายพลับพลาคือ มงกุฎยอดบัด มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลม มงกุฎยอดสามกลีบ พวกไม่มีมงกุฎแต่เป็นลิงพญามีฤทธิ์เดช พวกไม่มีมงกุฎแต่เรียกมงกุฎ พวกเตียวเพชร จังเกียง หัวลิงเขนหรือพลทหารลิงและหัวตลกฝ่ายลิง สำหรับพวกพญาวานรที่ไม่มีมงกุฎและพวกสิบแปดมงกุฎ มักนิยมเรียกรวมกันว่าลิงโล้น

ถึงแม้มีการบัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน ยังคงมีหัวโขนบางประเภทที่มีมงกุฎยอดเหมือนกัน จึงมีการทำหน้าโขนให้ปากและตาแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทปากแสยะตาโพลง ประเภทปากแสยะตาจระเข้ ประเภทปากขบตาโพลง และประเภทปากขบตาจระเข้ เป็นต้น

 

ผู้แสดง

ในการคัดเลือกผู้แสดงและฝึกหัดโขน แต่เดิมจะใช้นักเรียนชายทั้งหมดตามแบบประเพณีโบราณ อาจารย์ผู้ทำการฝึกหัดจะทำการคัดเลือกผู้แสดงที่จะหัดเป็นตัวละครต่าง ๆ เช่น พระราม นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ เป็นต้น ตามปกติในการแสดงโขน จะประกอบด้วยตัวละครที่มีลักษณะแตกต่างกัน 4 จำพวกได้แก่ 

  • ตัวพระ

พระ

การคัดเลือกตัวพระสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่ สวยงาม คมคายเด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่งผาย ลำคอระหงไหล่ลาดตรง ช่วงอกใหญ่ ขนาดลำตัวเรียว เอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดีไทยเช่น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ พระลอ สังคามาระตา ฯลฯ สวมพระมหามงกุฏหรือมงกุฎยอดชัย ห้อยดอกไม้เพชรด้านขวา

สำหรับการแสดงโขนที่มีตัวละครเอกที่เป็นตัวพระ 2 ตัวหรือมากกว่านั้น และมีบทบาทในการแสดงสำคัญเท่า ๆ กัน แบ่งเป็นพระใหญ่หรือพระน้อย ซึ่งพระใหญ่ในการแสดงโขนหมายถึงพระเอก มีบุคลิกลักษณะเหนือกว่าพระน้อย เช่น ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ พระรามเป็นพระใหญ่ และพระลักษมณ์เป็นพระน้อย หรือตอนพระรามครองเมือง พระรามเป็นพระใหญ่ พระลักษมณ์ พระพรตและพระสัตรุตเป็นพระน้อย เป็นต้น

  • ตัวนาง 

การคัดเลือกตัวนางสำหรับการแสดง ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครที่เป็นตัวนางนั้นมีเป็นจำนวนมากเช่น เป็นมนุษย์ได้แก่ นางสีดา นางมณโฑ นางไกยเกษี นางเกาสุริยา เป็นนางเทพหรือนางอัปสรได้แก่ พระอุมา พระลักษมี เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ได้แก่ นางสุพรรณมัจฉา นางกาลอัคคีนาคราช นางองนค์นาคี และเป็นยักษ์ซึ่งในที่นี้หมายถึงยักษ์ที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวนางทั่วไป ไม่ได้มีรูปร่างและใบหน้าเหมือนกับยักษ์ได้แก่ นางเบญจกาย นางตรีชฏา นางสุวรรณกันยุมา และยักษ์ที่มีลักษณะใบหน้าเหมือนยักษ์แต่สวมหัวโขนได้แก่ นางสำมะนักขา อากาศตะไล ฯลฯ ซึ่งตัวละครเหล่านั้นสามารถบ่งบอกชาติกำเนิดของตนเองได้ จากสัญลักษณ์ของการแต่งกายและเครื่องประดับ

สำหรับตัวนางนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ตัวนางที่เป็นนางกษัตริย์และนางตลาด ซึ่งนางกษัตริย์จะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวพระ สวมมงกุฏ ห้อยดอกไม้เพชรด้านซ้าย กิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพ นุ่มนวลอ่อนหวานตามลักษณะหญิงงามในวรรณคดีเช่นกัน ยามแสดงอาการโศกเศร้าหรือยิ้มแย้มดีใจ ก็จะกรีดกรายนิ้วมือแต่เพียงพองาม ส่วนนางตลาดนั้นจะคัดเลือกจากผู้ที่มีท่าทางกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว มีจริต สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

  • ตัวยักษ์ 

ยักการคัดเลือกตัวยักษ์สำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายกับตัวพระ รูปร่างสูงใหญ่วงเหลี่ยมของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ตลอดจนถึงการทรงตัวต้องดูแข็งแรง กิริยาท่าทางการเยื้องย่างแลดูสง่างาม โดยเฉพาะผู้แสดงเป็นทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ จะฝึกหัดเป็นพิเศษเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่น ๆ ต้องมีความแข็งแรงของช่วงขาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการแสดงจะต้องย่อเหลี่ยมรับการขึ้นลอยของตัวพระและตัวลิง ทศกัณฐ์เป็นตัวละครที่มีท่วงท่าลีลามากมายเช่น ยามโกรธเกรี้ยวจะกระทืบเท้าตึงตังเสียงดังโครมคราม หันหน้าหันหลังแสดงอารมณ์ด้วยกิริยาท่าทาง ยามสบายใจหรือดีใจ ก็จะนั่งกระดิกแขนกระดิกขา เป็นต้น

ยามแสดงความรักด้วยลีลาท่าทางกรุ้มกริ้มหรือเขินอาย ก็จะแสดงกิริยาในแบบฉบับของยักษ์เช่น ตอนทศกัณฐ์สำคัญผิดคิดว่านางเบญกาย ซึ่งแปลงเป็นนางสีดามาเข้าเฝ้าในท้องพระโรง จึงออกไปเกี้ยวพาราสีนางสีดาแปลง จนกลายเป็นที่ขบขันของเหล่านางกำนัล กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ยามขวยเขิน จะแสดงลีลาด้วยการส่ายไหล่ ปัดภูษาเครื่องทรงและชายไหวชายแครง มีท่าทางเก้อเขินอย่างเห็นได้ชัด ประกบฝ่ามือบริเวณอก ถูไปมาแล้วปัดใบหน้า กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ในตอนนี้ จะใช้ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ลำคอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไหล่และลำตัว ซึ่งเป็นการแสดงท่ารำที่ขัดกับบุคลิกที่สง่าของทศกัณฐ์เป็นอย่างมาก

  • ตัวลิง

การคัดเลือกตัวลิงสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะท่าทางไม่สูงมากนัก กิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไว
ตามแบบฉบับของลิง มีการดัดโครงสร้างของร่างกายให้อ่อน ซึ่งลีลาท่าทางของตัวลิงนั้นจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ตีลังกาลุกลี้ลุกลนตามธรรมชาติของลิง สำหรับผู้ที่จะหัดลิงเป็นตัวลิงนั้น ตามธรรมเนียมโบราณมักเป็นผู้ชาย โดยเริ่มหัดตั้งแต่อายุ 8-12 ขวบ เป็นต้น ในอดีตจะมีการฝึกเฉพาะเด็กผู้ชาย ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้เริ่มให้มีการคัดเลือกเด็กผู้หญิง เข้ารับการฝึกเป็นตัวลิงแล้ว เรียกว่า “โขนผู้หญิง” ในการการฝึกตัวลิงให้สามารถแสดงเป็นตัวเอกได้ดีนั้น จะต้องใช้เวลา 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย

ในการฝึกท่าพื้นฐานในการหัดเป็นตัวลิง ผู้แสดงจะต้องฝึกความแข็งแกร่งและความอดทนของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเริ่มหัดเทคนิคกระบวนท่าพื้นฐานธรรมดาเป็นระยะเวลา 2 ปี และเริ่มพัฒนาในการฝึกเทคนิคกระบวนท่าเฉพาะอีก 5 ปีปัจจุบันในการแสดงโขน ผู้แสดงเป็นตัวลิงเช่นหนุมาน องคต ชมพูพาน จะมีการแต่งเติมเทคนิคลีลาเฉพาะตัวของลิงเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงลักษณะท่าทางเฉพาะของลิงซึ่งตัวโขนแต่ละจำพวกนี้ ผู้ฝึกหัดจะต้องมีลักษณะรูปร่างเฉพาะเหมาะสมกับตัวละคร มีการใช้สรีระร่างกาย และท่วงท่ากิริยาเยื้องย่างในการร่ายรำ การแสดงท่าทางประกอบการพากย์ การแต่งกายและเครื่องประดับที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

วงดนตรีและเพลงประกอบการแสดง

  • วงดนตรีและเครื่องประกอบ

ในการแสดงโขนนั้นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ต้องใช้วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นมหรสพไทยหลายประเภท เช่น หนังใหญ่ หุ่น ละคร เป็นต้น ซึ่งขนาดของวงก็แล้วแต่ อาจจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ คำว่า “ปี่พาทย์” (หรือ “พิณพาทย์”) หมายถึง เครื่องประโคมอย่างหนัก อันมีเครื่องตีและเครื่องเป่า คือ ปี่-ฆ้อง-กลอง เป็นหลัก (ไม่มีเครื่องสาย) ที่เรียกว่าปี่พาทย์เพราะใช้ปี่เป็น ตัวนำวง (สุจิตต์ วงษ์เทศ.๒๕๓๒:๑๑๘)

ลักษณะวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้วงปี่พาทย์เครื่องห้า copy

  1. ระนาดเอก
  2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ตะโพน
  4. กลองทัด 
  5. ปี่ใน
  6. ฉิ่ง
  7. กรับ
  8. โกร่ง

หากในการแสดงงานพระราชพิธีหรืองานใหญ่ที่ใช้คนจำนวนมาก อาจขยายวงปี่พาทย์ เครื่องคู่ หรือปี่พาทย์เครื่องใหญ่ก็ได้

ที่มา:http://swu-farang.exteen.com

  • เพลงประกอบการแสดงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการและบทบาทต่าง ๆ ของโขนละคร ไม่มีบทร้อง ใช้ทำนองในการดำเนินกิริยา เช่น เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ

  1. เพลงพราหมณ์เข้า ใช้ประกอบกิริยาการเข้าโรงพิธีสำคัญ
  2. เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ
  3. เพลงตระนิมิตร ใช้ประกอบการแปลงกายของตัวเอก
  4. เพลงเชิด ใช้ประกอบการไป มาในระยะไกล ๆ และใช้ในการต่อสู้
  5. เพลงรัวต่างๆ ใช้ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์ หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด

เพลงร้อง เพลงจะให้อารมณ์แตกต่างกัน บางเพลงอาจใช้วิธีร้องอย่างเดียวโดยไม่มีดนตรี (แต่มีจังหวะฉิ่งกำกับ) หรือร้องลำลอง ร้องคลอ ก็ได้ การบรรจุเพลงร้องตามทำนองเพื่อสื่ออารมณ์ในแต่ละตอนของโขนละครมีความสำคัญ และยังใช้ในโอกาสต่างๆกัน เช่น

  1. อารมณ์โศกเศร้าเสียใจ ใช้เพลง กบเต้น พญาโศก โอ้ร่าย
  2. อารมณ์โกรธเคือง ใช้เพลง ลิงโลด ลิงลาน เทพทอง นาคราช
  3. อารมณ์รักใคร่ ใช้เพลง ลีลากระทุ่ม โอ้โลม
  4. โอกาสการขึ้นต้นการแสดงโดยเห็นตัวเอกเป็นหลัก ใช้เพลง ช้าปี่ ยานี
  5. โอกาสการดำเนินเรื่องอย่างธรรมดา ใช้เพลง ร่ายนอก ร่ายใน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

 

การแต่งหน้า

ข้อมูลในสมุดภาพการต่างหน้าโขน ตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้บอกเล่าวิธีการแต่งหน้าโขน “แนวพระราชนิยม” เป็นการแต่งหน้าโขนตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริและพระราชวิจารณ์ แก่การแต่งหน้าโขนที่แสดงถวายอยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีการจัดแสดงโขนหน้าพระที่นั่งในวาระโอกาสสำคัญต่างๆ พระราชดำริและพระราชวิจารณ์ของพระองค์สร้างแรงบันดาลใจให้สืบค้น สร้างสรรค์และพัฒนาความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อสถาปนาแนวทางมาตรฐาน   ในการแต่งหน้าโขนเพื่อจักเชิดชูศิลปะการแสดงชั้นสูงเช่นโขนนี้ให้งดงามยิ่งๆ ขึ้นอาชีพช่างแต่งหน้า-ศาสตร์เมคอัพเหนือจินตนาการ-เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์ไทย-1

  • โครงสี 

ขั้นแรกต้องถอดโครงสีตามสมัยนิยมทิ้ง โดยคงไว้เพียงโครงสีหลัก คือสีขาว สีดำ และสีแดง เพื่อปรับลดความเป็นตัวตนของนักแสดงออกไป ให้กลายเป็นตัวละครนั้นโดยสมบูรณ์ ถ้าว่ากันในทางวิธีการแล้ว ก็คือการเปลี่ยนแนวทางการแต่งหน้าจากแนวความงาม มาใช้แนวตัวละครแทนนั่นเอง สีหลักและสีรองที่ใช้ ได้แก่

สีหลัก : สีขาว สีดำ และสีแดง

สีขาว สำหรับสีขาวของใบหน้า ขาวเป็นหน้าหุ่น ขาวผ่อง ขาวนวล สีขาวนั้นขาวแค่ไหนจึงจะพอดี ตามความจริงแล้ว ขาวแบบไหนก็ได้ แต่ขอให้ขาวเท่ากันทุกตัวละคร รวมทั้งสีผิวกาย คอ มือและเท้า

สีดำ สำหรับสีดำของเส้นคิ้ว เส้นขอบตาบนและขอบตาล่าง และเส้นตาสองชั้นในเบ้าตา

สีแดง สำหรับปากสีแดงสด หรือแดงก่ำ ไม่มันวาวจนเกินไป สีปากพระ ลดความแดงลง ด้วยการเจือสีส้มหรือสีน้ำตาลลงไป ส่วนแก้มแดงระเรื่อ ปัดให้ดูเปล่งปลั่ง อาจปัดไล่สูงขึ้นมาจนถึงขอบตาล่างเลยก็ได้

สีรอง : สีใกล้เคียงสีผิว ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม

ใช้สำหรับปรับแสงเงาบนจุดต่างๆบนใบหน้า ใช้ทั้งแป้งเค้ก บรัชออน อายเชโดว์ หลายๆเฉดสี ให้เลือกสี
ใกล้คียงสีผิวเช่น ขาว ครีม ส้มอ่อน เหลืองอ่อน น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม เป็นต้น ใช้สีอ่อนและสีเข้มเน้นย้ำหลายๆจุดบนใบหน้า เช่น ข้างสันจมูก เงาบนเปลือกตา เงาข้างแก้ม ประกายใต้คิ้ว ที่หัวตาบน-ล่าง ใต้ริมฝีปากเป็นต้น

  • โครงเส้น

20140813012847โครงเส้นทั้งหมดถอดแบบมาจากหัวโขนจริง และจากหน้าพระหน้าเทวดาในภาพจิตรกรรมไทย โดยปรับให้เข้ากับใบหน้าคนจริง ซึ่งมีมิติมากกว่ากระดาษและผนัง รูปแบบของใบหน้าโขนจะไม่มีวัย นักแสดงอายุน้อยหรือมากก็แต่งหน้าแบบเดียวกัน ยกเว้นคิ้ว โดยตัวนาง นิยมเขียนคิ้วให้โค้งโก่ง และเรียวลงมาทางหางคิ้ว ส่วนตัวพระเพิ่มขนาดของเส้นคิ้วให้ใหญ่ขึ้น และเขียนหางคิ้วให้ตวัดกระดกขึ้นเล็กน้อย ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ของสีตา สีแก้ม และสีปาก เหมือนกัน โดยตัวพระลดความแดงของปากลง

เส้นร่างสีแดง

ก่อนการลงเส้นด้วยสีดำ ให้เขียนเส้นร่างสีแดงนำเส้นโครงทั้งหมดไว้เสียก่อน แล้วจึงใช้เค้กไลเนอร์สีน้ำตาลแดงผสมสีดำเขียนทับเส้นสีแดง โดยให้เหลื่อมซ้อนกันกับสีแดง จากนั้นเขียนทับเส้นอีกครั้งด้วยอายไลเนอร์สีดำให้คมและชัด โดยยังมีเส้นร่างสีแดงประกบเป็นเงาแดง อยู่คู่กับเส้นดำทุกเส้น เพื่อให้เส้นทั้งหมดดูมีน้ำหนักและอ่อนหวานขึ้น

คิ้วโก่งเป็นคันศร

เตรียมคิ้วให้พร้อมเพื่อความสวยงาม ในขั้นต้นอาจใช้วิธีถอนขนคิ้วที่เกินรูปออก หรือกันคิ้วออกบ้างเป็นบางส่วน หรือใช้วิธีการ ปิดคิ้ว การแต่งหน้าสมัยโบราณ ใช้น้ำมันและแป้งทาทับคิ้วให้หายไป หรือใช้สบู่ และขี้ผึ้งจับขนคิ้ว แล้วใช้รองพื้นและแป้งทาทับก่อนเขียนขึ้นใหม่

การเขียนคิ้วให้โก่งเป็นคันศร เริ่มจากเขียนคิ้วให้หัวคิ้วต่ำ เพื่อจะได้ยกโครงของคิ้วให้โก่งขึ้นทันที และเขียนหางคิ้วให้ขนานไปกับใบหู โดยที่หางคิ้วยังอยู่ในกรอบหน้า ไม่หายไปในเครื่องประดับศรีษะ คิ้วนางหัวคิ้วแหลม หางคิ้วเรียว คิ้วพระเพิ่มขนาดของเส้นคิ้วให้ใหญ่ขึ้น และเขียนหางคิ้วให้ตวัดกระดกขึ้นเล็กน้อย อย่าวาดคิ้วให้ดูแล้วเหมือนกับว่า ตัวละครสงสัยหรือตกใจอยู่ตลอดเวลา

ที่มา:http://www.rakbankerd.com

แต่งหน้าโขนนางสีดา

แต่งหน้าโขนพระอินทร์แปลง

การแสดงโขนพระราชทาน ชุดจองถนน

เรื่องย่อ

ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท61090_3306085909394_117026427_n_zps44bf0287

นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต

ที่มา:http://www.baanjomyut.com

โขนพระราชทาน ตอนจองถนน

การแสดงโขนพระราชทาน ชุดศึกมัยราพณ์

เรื่องย่อ

มัยราพณ์ พญายักษ์เจ้าเมืองบาดาลหน้าสีม่วงอ่อน มงกุฎยอดกนก รู้มนต์สะกดทัพ และสรรพยาเป่ากล้อง เป็นสัมพันธมิตรกับ ทศกัณฐ์คำนึงถึงจึงใช้ให้นนยวิก วายุเวก สองกุมารไปเชิญมาช่วยทำศึกกับพระราม มัยราพณ์ประกอบพิธีหุงสรรพยา เพื่อลอยเข้าไปสะกดทัพพระราม

ทางด้านพระรามมีลางบอกเหตุ พิเภกทูลว่ามีพระเคราะห์ร้าย พระรามจึงสั่งให้สุครีพบัญชาการแวดล้อมป้องกัน หนุมานอาสาอมพลับพลาไว้อีกชั้นหนึ่ง มัยราพณ์แปลงกายเป็นพญาวานรลอบเข้ามาฟังข่าว

ครั้นรู้ว่าพิเภกทูลว่าพระเคราะห์ร้ายจะหมดสิ้นไป เมื่อดาวประกายพรึกขึ้น มัยราพณ์จึงขึ้นไปบนเขาโสลาศ แล้วกวัดแกว่งกล้องแก้วให้บังเกิดแสงเหมือนดาวประกายพรึก  แล้วจึงเหาะเข้ามาเป่าสรรพยาทำให้พลวานร รวมทั้งหนุมานที่อมพลับพลาอยู่สลบลง8ee0731c

มัยราพณ์จึงเข้าไปแบกพระรามกลับไปกรุงบาดาล เมื่อพระลักษณ์ฟื้นขึ้น พิเภกทูลให้ใช้หนุมานลงไปเชิญพระรามกลับมา หนุมานลงไปกรุงบาดาล ต้องผ่านด่านต่างๆ ด่านแรกคือ ด่านยุงเท่าแม่ไก่ ด่านที่สองเป็นภูเขาไฟกระทบกันเป็นประกายเพลิง ด่านสุดท้ายคือ สระโบกขรณี ที่มัจฉานุรักษาอยู่ หนุมานต่อสู้กับมัจฉานุจนในที่สุดรู้ว่าเป็นพ่อลูกกัน

หนุมานหักก้านบัวใหญ่ แทรกตัวไปยังกรุงบาดาล พบนางพิรากวน พี่สาวมัยราพณ์ที่ถูกถอดยศและใช้ให้มาตักน้ำ เพื่อไปต้มพระรามกับไวยวิกลูกชายของนาง หนุมานแปลงเป็นใยบัวติด ชายสไบเข้าไปในเมืองบาดาลได้ หนุมานลอยเข้าไปถึงปราสาทที่มัยราพณ์และชายาบรรทมอยู่ หนุมานต่อสู้กับมัยราพณ์ มัยราพณ์ท้าให้ไปรบกันที่ดงตาลท้ายเมือง หนุมานใช้ต้นตาลเป็นกระบองฟาดมัยราพณ์สิ้นชีวิต แล้วอัญเชิญพระรามเสด็จกลับ เหล่าเทพบุตรเทพธิดาพากันโปรยข้าวตอกดอกไม้แซ่สร้องสรรเสริญ

ที่มา:http://drphot.com

การแสดงโขนพระราชทาน ชุดศึกมัยราพณ์

เจ้าของเว็บ

IMG20151020144342

นางสาว อุบลวรรณ นาคสังข์

นักศึกษาปี2 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

มีความสนใจด้านการแสดง จึงจัดทำเว็บไซต์เรื่องโขนขึ้น เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และองค์ประกอบต่างๆในการแสดงโขน นอกจากนี้ ความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ ที่ถูกสืบทอดมาเกี่ยวกับโขน ก็มากมาย ทั้งการปฏิบัติของนักแสดง และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการแสดงก็มีเรื่องราวความเชื่อ

การแสดงโขนพระราชทาน ชุดศึกอินทรชิต

เรื่องย่อ

ทศกรรฐ์เมื่อรู้ว่ากุมภกรรณตาย เสียใจ และโกรธแค้นมาก สั่งให้อินทรชิตไปแก้แค้นแทนอา พระรามให้พระลักษมณ์ไปรบ ไม่แพ้ไม่ชนะ อินทชิต บอกว่าให้พระลักษมณ์มารบกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น   ฝ่ายอินทชิตเมื่อกลับเข้าลงกาแล้ว คิดว่าศัตรูมีกำลังกล้าแข็งมาก ทูลทศกรรฐ์ว่าจะไปทำพิธีชุบศรนาคบาศที่เขาอากาศ โดยให้ฝูงนาคมาคายพิษลงบนศร เป็นเวลาเจ็ดวัน จึงจะเสร็จพิธี ระหว่างที่อินทชิตไปทำพิธีชุบศร ทศกรรฐ์ให้มังกรกัณฐ์โอรสพระยาขรผู้เป็นหลาน ไปรบขัดตาทัพไว้ก่อน    พระรามได้ออกไปรบ ถูกมังกรกัณฐ์ยิงศรทะลุเกราะเพชร พระรามจึงแผลงศรไปถูกศรของมักกรกัณฐ์หัก และถูกเหล่ายักษ์ตายลงเป็นจำนวนมาก2.jpg

มังกรกัณฐ์จึงหนีไปซ่อนในกลีบเมฆ และเนรมิตรูปมายาปั้นรูปของตนขึ้นมากมาย พร้อมกับบันดาลให้ฝนเพลิงตกลงมา พิเภกบอกวิธีสังหารมังกรกัณฐ์ พระรามได้แผลงศรพรหมมาสตร์ไปสังหารตัวจริงตาย รูปมายาก็หายไปหมด

สารัณทูต จึงกลับไปบอกทศกรรณ์ ทศกรรฐ์ได้ให้วิรุญมุข ลูกวิรุญจำบัง ยกทัพไปขัดตาทัพอีก ต่อมาพระรามรู้ว่าอินทรชิตไม่ยกทัพมา เพราะไป ตั้งพิธีชุบศรนาคบาศในโพรงไม้โรทันที่เขาอากาศ ก็ให้ชามพูวราช แปลงเป็นหมีไปกัดไม้ที่อาศัยทำพิธีให้หักโค่นลง การเรียกพิษนาคจึงไม่ต่อเนื่อง อำนาจจึงเสื่อม

ฝ่ายอินทรชิตเมื่อเสียพิธีแล้ว จึงไปยังเขามรกต ไปสมทบกับทัพวิรุญมุข พระรามได้ให้พระลักษมณ์ออกไปรบอีก แต่ถูกศรนาคบาศของอินทรชิต พิเภกกลับมาบอกพระรามว่า พระลักษมณ์ต้องศรนาคบาศแต่ยังไม่ตาย ให้พระรามแผลงศรพลายวาตไปเรียกพระยาครุฑมา เหล่าพญานาคก็จะหนีไป พระลักษมณ์และไพร่พลลิงก็จะฟื้น

ที่มา:http://www.baanjomyut.com

โขนพระราชทานชุดศึกอินทรชิต ตอนพรหมาศ

โขนพระราชทานชุดศึกอินทรชิต ตอน นาคบาศ

การแสดงโขนกลางแปลงพระราชทาน

7d9g9dagcg7bh6k7diaaj

การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระกฤดารามาวตาร ประกอบด้วย องก์ที่ 1 นารายณ์ปราบนนทุก องก์ที่ 2 ทศกัณฐ์ลักนางสีดา – หนุมานถวายพล องก์ที่ 3 จองถนน – พระรามข้ามสมุทร องก์ที่ 4 ยกรบ และองก์ที่ 5 พระรามคืนนคร ซึ่งการแสดงดังกล่าวจะบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ปฐมบทเกิดทศกัณฐ์จนถึงพระรามเสด็จคืนกลับกรุงศรีอยุธยา ขึ้นเถลิงราชย์เป็นจอมกษัตริย์ปกครองไพร่ฟ้าประชาชน ผาสุกร่มเย็นด้วยทศพิธราชธรรม

ที่มา:http://mcot-web.mcot.net

การแสดงโขนกลางแปลงพระราชทาน