วงดนตรีและเพลงประกอบการแสดง

  • วงดนตรีและเครื่องประกอบ

ในการแสดงโขนนั้นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ต้องใช้วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นมหรสพไทยหลายประเภท เช่น หนังใหญ่ หุ่น ละคร เป็นต้น ซึ่งขนาดของวงก็แล้วแต่ อาจจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ คำว่า “ปี่พาทย์” (หรือ “พิณพาทย์”) หมายถึง เครื่องประโคมอย่างหนัก อันมีเครื่องตีและเครื่องเป่า คือ ปี่-ฆ้อง-กลอง เป็นหลัก (ไม่มีเครื่องสาย) ที่เรียกว่าปี่พาทย์เพราะใช้ปี่เป็น ตัวนำวง (สุจิตต์ วงษ์เทศ.๒๕๓๒:๑๑๘)

ลักษณะวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้วงปี่พาทย์เครื่องห้า copy

  1. ระนาดเอก
  2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ตะโพน
  4. กลองทัด 
  5. ปี่ใน
  6. ฉิ่ง
  7. กรับ
  8. โกร่ง

หากในการแสดงงานพระราชพิธีหรืองานใหญ่ที่ใช้คนจำนวนมาก อาจขยายวงปี่พาทย์ เครื่องคู่ หรือปี่พาทย์เครื่องใหญ่ก็ได้

ที่มา:http://swu-farang.exteen.com

  • เพลงประกอบการแสดงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการและบทบาทต่าง ๆ ของโขนละคร ไม่มีบทร้อง ใช้ทำนองในการดำเนินกิริยา เช่น เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ

  1. เพลงพราหมณ์เข้า ใช้ประกอบกิริยาการเข้าโรงพิธีสำคัญ
  2. เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ
  3. เพลงตระนิมิตร ใช้ประกอบการแปลงกายของตัวเอก
  4. เพลงเชิด ใช้ประกอบการไป มาในระยะไกล ๆ และใช้ในการต่อสู้
  5. เพลงรัวต่างๆ ใช้ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์ หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด

เพลงร้อง เพลงจะให้อารมณ์แตกต่างกัน บางเพลงอาจใช้วิธีร้องอย่างเดียวโดยไม่มีดนตรี (แต่มีจังหวะฉิ่งกำกับ) หรือร้องลำลอง ร้องคลอ ก็ได้ การบรรจุเพลงร้องตามทำนองเพื่อสื่ออารมณ์ในแต่ละตอนของโขนละครมีความสำคัญ และยังใช้ในโอกาสต่างๆกัน เช่น

  1. อารมณ์โศกเศร้าเสียใจ ใช้เพลง กบเต้น พญาโศก โอ้ร่าย
  2. อารมณ์โกรธเคือง ใช้เพลง ลิงโลด ลิงลาน เทพทอง นาคราช
  3. อารมณ์รักใคร่ ใช้เพลง ลีลากระทุ่ม โอ้โลม
  4. โอกาสการขึ้นต้นการแสดงโดยเห็นตัวเอกเป็นหลัก ใช้เพลง ช้าปี่ ยานี
  5. โอกาสการดำเนินเรื่องอย่างธรรมดา ใช้เพลง ร่ายนอก ร่ายใน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

 

ใส่ความเห็น