ความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงโขน

  • ความเชื่อเกี่ยวกับการเจาะและแก้ไขตาโขน

โดยปกติเมื่อช่างทำหัวโขนเสร็จแล้ว ช่างจะเจาะตาหัวโขนให้ ซึ่งหากเป็นหัวโขนที่ทำใช้เฉพาะตัวผู้แสดง ช่างผู้สร้างหัวโขนจะมีวิธีการวัดและเจาะตาให้พอดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ถ้าเป็นหัวโขนที่ใช้ทั่ว ๆ ไปช่างอาจจะ22034_191781.jpgเจาะตาไว้อย่างกลาง ซึ่งเวลาผู้แสดงนำมาสวมใส่อาจจะมองเห็นไม่ถนัด

แต่โบราณถือกันว่าห้ามผู้แสดงเจาะหรือแก้ไขตาโขนเพราะอาจเกิดภัยพิบัติทำให้ตาบอดได้ เนื่องจากผ่านพิธีเบิกพระเนตรมาแล้ว ต้องให้ช่างที่ทำหัวโขนเป็นผู้เจาะแก้ไขตาโขน ความเชื่อถือนี้อาจะเป็นเพราะว่า หัวโขนส่วนใหญ่ช่างจะใช้เปลือกหอยมุกมาตกแต่งทำเป็นรูปตาของหัวโขน หากผู้แสดงเจาะตาเองอาจจะทำให้หัวโขนเกิดความเสียหายได้ จึงมีข้อห้ามไว้เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญเป็นคนทำเอง และถ้าหากมีแมลงสาบมาแทะหรือกันกินสีของหัวโขนโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตาของหัวโขน โบราณเรียกว่าต้องธรณีสาร ห้ามนำหัวโขนนั้นไปใช้สวมใส่แสดง ต้องรีบทำน้ำมนต์ธรณีสารมาประพรมแก้อุบาทว์ แล้วนำหัวโขนนั้นไปให้ช่างซ่อมแซมโดยด่วน

  • ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีครอบ

ในการแสดงโขนละครผู้ฝึกหัดจนสามารถออกแสดงได้แล้วจะต้องผ่านพิธีครอบ โดยในพิธีไหว้ครูโขน-ละครประจำปี ครูจะต้องทำพิธีครอบให้กับศิษย์ หากยังไม่ผ่านพิธีครอบก็จะไม่ออกแสดงโดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดเหตุอะไรขึ้นถือว่าผิดครูหรือเป็นเพราะแรงครูในพิธีครอบครูจะนำหัวโขนหน้าพระภรตฤาษี หน้าพระพิราพ และเทริดมโนห์รา ครอบให้ศิษย์22

พิธีครอบครูนี้ถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ และสะอาด ในขณะที่ทำพิธีครอบผู้เป็นศิษย์จะต้องมีความสำรวม แสดงความเคารพ หากแสดงอาการลบหลู่ หรือไม่เชื่อถืออาจเป็นบ้าหรือเสียสติ ซึ่งโบราณเรียกว่า ต้องครู เพชรฉลูกัน (วิษณุกรรม) หรือผิดครู ต้องแรงครู

  • ความเชื่อเกี่ยวกับการเก็บหรือการตั้งหัวโขน

ทั้งในเวลาแสดงและเวลาเก็บรักษาในคลังเก็บเครื่องโขน นิยมแบ่งเก็บเป็นพวกเป็นส่วนสัดไว้ในที่ที่สมควร ไม่ทิ้งเรี่ยราด หัวโขนหน้ายักษ์ หน้าลิง จะต้องเก็บกันไว้คนละด้านไม่ให้ปะปนกัน มีหัวโขนหน้าฤาษีคั่นระหว่างกลาง

32เคยมีเรื่องประหลาดเกิดขึ้นที่วังจันทรเกษมอันเป็นที่ตั้เงกรมมหรสพเดิม ในรัชกาลที่ 6 ในห้องคลังเครื่องโขนมีตู้กระจกเป็นที่เก็บหัวโขนแบ่งเป็นสองฝ่ายตามแบบอย่าง คราวหนึ่งมีผู้อุตริยกหัวโขนหน้าพระฤาษีซึ่งคั่นไว้ระหว่างหัวโขนฝ่ายยักษ์กับฝ่ายลิงไปไว้ที่อื่น จะด้วยความเจตนาหรือความหลงลืมก็ไม่อาจทราบ วันรุ่งขึ้นปรากฎว่าบานกระจกตู้เก็บหัวโขนแตกละเอียดเกือบหมด หัวโขนบางหัวตกลงมาฉีกขาด กระจัดกระจายบุบสลาย จอนหูหัก เขี้ยวยักษ์หลุด แต่โดยมากจะเป็นหน้าเสนายักษ์กับหน้าลิงสิบแปดมงกุฎ

นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอีกข้อหนึ่ง คือ ห้ามไม่ให้นำหัวโขนตลอดจนเครื่องแต่งตัวโขนมาเก็บรักษาไว้ที่บ้าน ต้องพาไปฝากไว้ที่วัด เพราะถือว่าเป็นของร้อน ห้ามแม้กระทั่งรูปวาดของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์นำมาไว้ในบ้าน แต่ปัจจุบันข้อห้ามเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว เพราะทั้งช่างผู้ประดิษฐ์หัวโขนก็สร้างหัวโขนเก็บไว้ที่บ้าน การทำจำหน่ายก็แพร่หลาย นักแสดงต่าง ๆก็นิยมเก็บเครื่องแต่งกายไว้ที่บ้านเพื่อความสะดวก

ที่มา:http://members.tripod.com

ใส่ความเห็น