ผู้แสดง

ในการคัดเลือกผู้แสดงและฝึกหัดโขน แต่เดิมจะใช้นักเรียนชายทั้งหมดตามแบบประเพณีโบราณ อาจารย์ผู้ทำการฝึกหัดจะทำการคัดเลือกผู้แสดงที่จะหัดเป็นตัวละครต่าง ๆ เช่น พระราม นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ เป็นต้น ตามปกติในการแสดงโขน จะประกอบด้วยตัวละครที่มีลักษณะแตกต่างกัน 4 จำพวกได้แก่ 

  • ตัวพระ

พระ

การคัดเลือกตัวพระสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่ สวยงาม คมคายเด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่งผาย ลำคอระหงไหล่ลาดตรง ช่วงอกใหญ่ ขนาดลำตัวเรียว เอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดีไทยเช่น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ พระลอ สังคามาระตา ฯลฯ สวมพระมหามงกุฏหรือมงกุฎยอดชัย ห้อยดอกไม้เพชรด้านขวา

สำหรับการแสดงโขนที่มีตัวละครเอกที่เป็นตัวพระ 2 ตัวหรือมากกว่านั้น และมีบทบาทในการแสดงสำคัญเท่า ๆ กัน แบ่งเป็นพระใหญ่หรือพระน้อย ซึ่งพระใหญ่ในการแสดงโขนหมายถึงพระเอก มีบุคลิกลักษณะเหนือกว่าพระน้อย เช่น ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ พระรามเป็นพระใหญ่ และพระลักษมณ์เป็นพระน้อย หรือตอนพระรามครองเมือง พระรามเป็นพระใหญ่ พระลักษมณ์ พระพรตและพระสัตรุตเป็นพระน้อย เป็นต้น

  • ตัวนาง 

การคัดเลือกตัวนางสำหรับการแสดง ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครที่เป็นตัวนางนั้นมีเป็นจำนวนมากเช่น เป็นมนุษย์ได้แก่ นางสีดา นางมณโฑ นางไกยเกษี นางเกาสุริยา เป็นนางเทพหรือนางอัปสรได้แก่ พระอุมา พระลักษมี เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ได้แก่ นางสุพรรณมัจฉา นางกาลอัคคีนาคราช นางองนค์นาคี และเป็นยักษ์ซึ่งในที่นี้หมายถึงยักษ์ที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวนางทั่วไป ไม่ได้มีรูปร่างและใบหน้าเหมือนกับยักษ์ได้แก่ นางเบญจกาย นางตรีชฏา นางสุวรรณกันยุมา และยักษ์ที่มีลักษณะใบหน้าเหมือนยักษ์แต่สวมหัวโขนได้แก่ นางสำมะนักขา อากาศตะไล ฯลฯ ซึ่งตัวละครเหล่านั้นสามารถบ่งบอกชาติกำเนิดของตนเองได้ จากสัญลักษณ์ของการแต่งกายและเครื่องประดับ

สำหรับตัวนางนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ตัวนางที่เป็นนางกษัตริย์และนางตลาด ซึ่งนางกษัตริย์จะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวพระ สวมมงกุฏ ห้อยดอกไม้เพชรด้านซ้าย กิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพ นุ่มนวลอ่อนหวานตามลักษณะหญิงงามในวรรณคดีเช่นกัน ยามแสดงอาการโศกเศร้าหรือยิ้มแย้มดีใจ ก็จะกรีดกรายนิ้วมือแต่เพียงพองาม ส่วนนางตลาดนั้นจะคัดเลือกจากผู้ที่มีท่าทางกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว มีจริต สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

  • ตัวยักษ์ 

ยักการคัดเลือกตัวยักษ์สำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายกับตัวพระ รูปร่างสูงใหญ่วงเหลี่ยมของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ตลอดจนถึงการทรงตัวต้องดูแข็งแรง กิริยาท่าทางการเยื้องย่างแลดูสง่างาม โดยเฉพาะผู้แสดงเป็นทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ จะฝึกหัดเป็นพิเศษเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่น ๆ ต้องมีความแข็งแรงของช่วงขาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการแสดงจะต้องย่อเหลี่ยมรับการขึ้นลอยของตัวพระและตัวลิง ทศกัณฐ์เป็นตัวละครที่มีท่วงท่าลีลามากมายเช่น ยามโกรธเกรี้ยวจะกระทืบเท้าตึงตังเสียงดังโครมคราม หันหน้าหันหลังแสดงอารมณ์ด้วยกิริยาท่าทาง ยามสบายใจหรือดีใจ ก็จะนั่งกระดิกแขนกระดิกขา เป็นต้น

ยามแสดงความรักด้วยลีลาท่าทางกรุ้มกริ้มหรือเขินอาย ก็จะแสดงกิริยาในแบบฉบับของยักษ์เช่น ตอนทศกัณฐ์สำคัญผิดคิดว่านางเบญกาย ซึ่งแปลงเป็นนางสีดามาเข้าเฝ้าในท้องพระโรง จึงออกไปเกี้ยวพาราสีนางสีดาแปลง จนกลายเป็นที่ขบขันของเหล่านางกำนัล กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ยามขวยเขิน จะแสดงลีลาด้วยการส่ายไหล่ ปัดภูษาเครื่องทรงและชายไหวชายแครง มีท่าทางเก้อเขินอย่างเห็นได้ชัด ประกบฝ่ามือบริเวณอก ถูไปมาแล้วปัดใบหน้า กิริยาท่าทางของทศกัณฐ์ในตอนนี้ จะใช้ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ลำคอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไหล่และลำตัว ซึ่งเป็นการแสดงท่ารำที่ขัดกับบุคลิกที่สง่าของทศกัณฐ์เป็นอย่างมาก

  • ตัวลิง

การคัดเลือกตัวลิงสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะท่าทางไม่สูงมากนัก กิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไว
ตามแบบฉบับของลิง มีการดัดโครงสร้างของร่างกายให้อ่อน ซึ่งลีลาท่าทางของตัวลิงนั้นจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ตีลังกาลุกลี้ลุกลนตามธรรมชาติของลิง สำหรับผู้ที่จะหัดลิงเป็นตัวลิงนั้น ตามธรรมเนียมโบราณมักเป็นผู้ชาย โดยเริ่มหัดตั้งแต่อายุ 8-12 ขวบ เป็นต้น ในอดีตจะมีการฝึกเฉพาะเด็กผู้ชาย ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้เริ่มให้มีการคัดเลือกเด็กผู้หญิง เข้ารับการฝึกเป็นตัวลิงแล้ว เรียกว่า “โขนผู้หญิง” ในการการฝึกตัวลิงให้สามารถแสดงเป็นตัวเอกได้ดีนั้น จะต้องใช้เวลา 10 ปีขึ้นไปเป็นอย่างน้อย

ในการฝึกท่าพื้นฐานในการหัดเป็นตัวลิง ผู้แสดงจะต้องฝึกความแข็งแกร่งและความอดทนของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเริ่มหัดเทคนิคกระบวนท่าพื้นฐานธรรมดาเป็นระยะเวลา 2 ปี และเริ่มพัฒนาในการฝึกเทคนิคกระบวนท่าเฉพาะอีก 5 ปีปัจจุบันในการแสดงโขน ผู้แสดงเป็นตัวลิงเช่นหนุมาน องคต ชมพูพาน จะมีการแต่งเติมเทคนิคลีลาเฉพาะตัวของลิงเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงลักษณะท่าทางเฉพาะของลิงซึ่งตัวโขนแต่ละจำพวกนี้ ผู้ฝึกหัดจะต้องมีลักษณะรูปร่างเฉพาะเหมาะสมกับตัวละคร มีการใช้สรีระร่างกาย และท่วงท่ากิริยาเยื้องย่างในการร่ายรำ การแสดงท่าทางประกอบการพากย์ การแต่งกายและเครื่องประดับที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

วงดนตรีและเพลงประกอบการแสดง

  • วงดนตรีและเครื่องประกอบ

ในการแสดงโขนนั้นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ต้องใช้วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นมหรสพไทยหลายประเภท เช่น หนังใหญ่ หุ่น ละคร เป็นต้น ซึ่งขนาดของวงก็แล้วแต่ อาจจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ คำว่า “ปี่พาทย์” (หรือ “พิณพาทย์”) หมายถึง เครื่องประโคมอย่างหนัก อันมีเครื่องตีและเครื่องเป่า คือ ปี่-ฆ้อง-กลอง เป็นหลัก (ไม่มีเครื่องสาย) ที่เรียกว่าปี่พาทย์เพราะใช้ปี่เป็น ตัวนำวง (สุจิตต์ วงษ์เทศ.๒๕๓๒:๑๑๘)

ลักษณะวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้วงปี่พาทย์เครื่องห้า copy

  1. ระนาดเอก
  2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ตะโพน
  4. กลองทัด 
  5. ปี่ใน
  6. ฉิ่ง
  7. กรับ
  8. โกร่ง

หากในการแสดงงานพระราชพิธีหรืองานใหญ่ที่ใช้คนจำนวนมาก อาจขยายวงปี่พาทย์ เครื่องคู่ หรือปี่พาทย์เครื่องใหญ่ก็ได้

ที่มา:http://swu-farang.exteen.com

  • เพลงประกอบการแสดงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการและบทบาทต่าง ๆ ของโขนละคร ไม่มีบทร้อง ใช้ทำนองในการดำเนินกิริยา เช่น เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ

  1. เพลงพราหมณ์เข้า ใช้ประกอบกิริยาการเข้าโรงพิธีสำคัญ
  2. เพลงพราหมณ์ออก ใช้ประกอบกิริยาการออกจากโรงพิธีสำคัญ
  3. เพลงตระนิมิตร ใช้ประกอบการแปลงกายของตัวเอก
  4. เพลงเชิด ใช้ประกอบการไป มาในระยะไกล ๆ และใช้ในการต่อสู้
  5. เพลงรัวต่างๆ ใช้ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์ หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด

เพลงร้อง เพลงจะให้อารมณ์แตกต่างกัน บางเพลงอาจใช้วิธีร้องอย่างเดียวโดยไม่มีดนตรี (แต่มีจังหวะฉิ่งกำกับ) หรือร้องลำลอง ร้องคลอ ก็ได้ การบรรจุเพลงร้องตามทำนองเพื่อสื่ออารมณ์ในแต่ละตอนของโขนละครมีความสำคัญ และยังใช้ในโอกาสต่างๆกัน เช่น

  1. อารมณ์โศกเศร้าเสียใจ ใช้เพลง กบเต้น พญาโศก โอ้ร่าย
  2. อารมณ์โกรธเคือง ใช้เพลง ลิงโลด ลิงลาน เทพทอง นาคราช
  3. อารมณ์รักใคร่ ใช้เพลง ลีลากระทุ่ม โอ้โลม
  4. โอกาสการขึ้นต้นการแสดงโดยเห็นตัวเอกเป็นหลัก ใช้เพลง ช้าปี่ ยานี
  5. โอกาสการดำเนินเรื่องอย่างธรรมดา ใช้เพลง ร่ายนอก ร่ายใน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

 

การแต่งหน้า

ข้อมูลในสมุดภาพการต่างหน้าโขน ตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้บอกเล่าวิธีการแต่งหน้าโขน “แนวพระราชนิยม” เป็นการแต่งหน้าโขนตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริและพระราชวิจารณ์ แก่การแต่งหน้าโขนที่แสดงถวายอยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีการจัดแสดงโขนหน้าพระที่นั่งในวาระโอกาสสำคัญต่างๆ พระราชดำริและพระราชวิจารณ์ของพระองค์สร้างแรงบันดาลใจให้สืบค้น สร้างสรรค์และพัฒนาความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อสถาปนาแนวทางมาตรฐาน   ในการแต่งหน้าโขนเพื่อจักเชิดชูศิลปะการแสดงชั้นสูงเช่นโขนนี้ให้งดงามยิ่งๆ ขึ้นอาชีพช่างแต่งหน้า-ศาสตร์เมคอัพเหนือจินตนาการ-เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์ไทย-1

  • โครงสี 

ขั้นแรกต้องถอดโครงสีตามสมัยนิยมทิ้ง โดยคงไว้เพียงโครงสีหลัก คือสีขาว สีดำ และสีแดง เพื่อปรับลดความเป็นตัวตนของนักแสดงออกไป ให้กลายเป็นตัวละครนั้นโดยสมบูรณ์ ถ้าว่ากันในทางวิธีการแล้ว ก็คือการเปลี่ยนแนวทางการแต่งหน้าจากแนวความงาม มาใช้แนวตัวละครแทนนั่นเอง สีหลักและสีรองที่ใช้ ได้แก่

สีหลัก : สีขาว สีดำ และสีแดง

สีขาว สำหรับสีขาวของใบหน้า ขาวเป็นหน้าหุ่น ขาวผ่อง ขาวนวล สีขาวนั้นขาวแค่ไหนจึงจะพอดี ตามความจริงแล้ว ขาวแบบไหนก็ได้ แต่ขอให้ขาวเท่ากันทุกตัวละคร รวมทั้งสีผิวกาย คอ มือและเท้า

สีดำ สำหรับสีดำของเส้นคิ้ว เส้นขอบตาบนและขอบตาล่าง และเส้นตาสองชั้นในเบ้าตา

สีแดง สำหรับปากสีแดงสด หรือแดงก่ำ ไม่มันวาวจนเกินไป สีปากพระ ลดความแดงลง ด้วยการเจือสีส้มหรือสีน้ำตาลลงไป ส่วนแก้มแดงระเรื่อ ปัดให้ดูเปล่งปลั่ง อาจปัดไล่สูงขึ้นมาจนถึงขอบตาล่างเลยก็ได้

สีรอง : สีใกล้เคียงสีผิว ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม

ใช้สำหรับปรับแสงเงาบนจุดต่างๆบนใบหน้า ใช้ทั้งแป้งเค้ก บรัชออน อายเชโดว์ หลายๆเฉดสี ให้เลือกสี
ใกล้คียงสีผิวเช่น ขาว ครีม ส้มอ่อน เหลืองอ่อน น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม เป็นต้น ใช้สีอ่อนและสีเข้มเน้นย้ำหลายๆจุดบนใบหน้า เช่น ข้างสันจมูก เงาบนเปลือกตา เงาข้างแก้ม ประกายใต้คิ้ว ที่หัวตาบน-ล่าง ใต้ริมฝีปากเป็นต้น

  • โครงเส้น

20140813012847โครงเส้นทั้งหมดถอดแบบมาจากหัวโขนจริง และจากหน้าพระหน้าเทวดาในภาพจิตรกรรมไทย โดยปรับให้เข้ากับใบหน้าคนจริง ซึ่งมีมิติมากกว่ากระดาษและผนัง รูปแบบของใบหน้าโขนจะไม่มีวัย นักแสดงอายุน้อยหรือมากก็แต่งหน้าแบบเดียวกัน ยกเว้นคิ้ว โดยตัวนาง นิยมเขียนคิ้วให้โค้งโก่ง และเรียวลงมาทางหางคิ้ว ส่วนตัวพระเพิ่มขนาดของเส้นคิ้วให้ใหญ่ขึ้น และเขียนหางคิ้วให้ตวัดกระดกขึ้นเล็กน้อย ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ของสีตา สีแก้ม และสีปาก เหมือนกัน โดยตัวพระลดความแดงของปากลง

เส้นร่างสีแดง

ก่อนการลงเส้นด้วยสีดำ ให้เขียนเส้นร่างสีแดงนำเส้นโครงทั้งหมดไว้เสียก่อน แล้วจึงใช้เค้กไลเนอร์สีน้ำตาลแดงผสมสีดำเขียนทับเส้นสีแดง โดยให้เหลื่อมซ้อนกันกับสีแดง จากนั้นเขียนทับเส้นอีกครั้งด้วยอายไลเนอร์สีดำให้คมและชัด โดยยังมีเส้นร่างสีแดงประกบเป็นเงาแดง อยู่คู่กับเส้นดำทุกเส้น เพื่อให้เส้นทั้งหมดดูมีน้ำหนักและอ่อนหวานขึ้น

คิ้วโก่งเป็นคันศร

เตรียมคิ้วให้พร้อมเพื่อความสวยงาม ในขั้นต้นอาจใช้วิธีถอนขนคิ้วที่เกินรูปออก หรือกันคิ้วออกบ้างเป็นบางส่วน หรือใช้วิธีการ ปิดคิ้ว การแต่งหน้าสมัยโบราณ ใช้น้ำมันและแป้งทาทับคิ้วให้หายไป หรือใช้สบู่ และขี้ผึ้งจับขนคิ้ว แล้วใช้รองพื้นและแป้งทาทับก่อนเขียนขึ้นใหม่

การเขียนคิ้วให้โก่งเป็นคันศร เริ่มจากเขียนคิ้วให้หัวคิ้วต่ำ เพื่อจะได้ยกโครงของคิ้วให้โก่งขึ้นทันที และเขียนหางคิ้วให้ขนานไปกับใบหู โดยที่หางคิ้วยังอยู่ในกรอบหน้า ไม่หายไปในเครื่องประดับศรีษะ คิ้วนางหัวคิ้วแหลม หางคิ้วเรียว คิ้วพระเพิ่มขนาดของเส้นคิ้วให้ใหญ่ขึ้น และเขียนหางคิ้วให้ตวัดกระดกขึ้นเล็กน้อย อย่าวาดคิ้วให้ดูแล้วเหมือนกับว่า ตัวละครสงสัยหรือตกใจอยู่ตลอดเวลา

ที่มา:http://www.rakbankerd.com

แต่งหน้าโขนนางสีดา

แต่งหน้าโขนพระอินทร์แปลง

บทละครแสดงโขน

บทละครแสดงโขน เรื่องที่นำมาแสดง เป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทย คือ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ของไทยหลายพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่เรียบเรียงจากเค้าโคลงและเนื้อหาของมหากาพย์รามายณะ แต่งโดยฤๅษีวาลมิกิของอินเดีย ซึ่งกล่าวถึงพระนารายณ์ เทพเจ้าสำคัญในศาสนาฮินดูที่อวตารมาเป็นพระราม เพื่อปราบปรามทศกัณฐ์ในกลียุค และยังถือว่ารามายณะนี้เป็นคัมภีร์ชั้นรองที่มีความสำคัญของชาวฮินดูด้วย

antoine-lonard_chzy_-_yajnadattabadaรามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารมาเกิดเป็นพระราม เพื่อปราบนนทกหรือทศกัณฐ์ดั่งวาจาที่ไว้ให้ตอนพระนาราย์ปราบนนทก ด้วยการให้นนทกมาเกิดเป็นพญายักษ์ มีสิบเศียรสิบกร มีฤทธิ์มากมาย ส่วนตนจะมาเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดาเพื่อตามปราบให้สิ้นซาก สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์เริ่มต้นขึ้น ภายหลังจากทศกัณฐ์เกิดหลงรักนางสีดา มเหสีของพระราม จึงลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกาเพื่อให้เป็นมเหสีของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์ซึ่งเป็นพระอนุชาที่ติดตามออกผนวชในป่า ได้ออกติดตามเพื่อชิงตัวนางสีดากลับคืน ระหว่างทางพบกับพาลี สุครีพ ท้าวมหาชมพูและชมพูพาน รวมทั้งได้กองทัพลิงมาเป็นบริวาร มีหนุมานเป็นทหารเอก ร่วมทำศึกกับทศกัณฐ์จนกระทั่งได้รับชัยชนะ

รามเกียรติ์ตามแบบฉบับของไทย แต่งเป็นบทละครสำหรับแสดงเป็นตอน ๆ หรือแสดงทั้งเรื่อง ใช้สำหรับแสดงโขน หนังใหญ่และละคร แต่งขึ้นหลายยุคหลายสมัย

  • บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา

รามเกียรติ์คำฉันท์ เป็นบทละครที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยใด แต่งขึ้นสำหรับใช้ในการแสดงหนังใหญ่ จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโขน ทำให้สามารถระบุได้ว่าการแสดงโขนนั้น ต้องมีมาแต่ก่อนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันต้นฉบับคำฉันท์สูญหายไปเกือบหมดตามกาลเวลา มีการกล่าวถึงในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีเพียง 3 – 4 บทเท่านั้นคือ บทละครตอนพระอินทร์สั่งให้พระมาตุลีนำราชรถมาถวายยังสนามรบ บทละครตอนพระรามโศกเศร้าเสียใจ รำพันคร่ำครวญเมื่อคราวที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา บทละครแบบพรรณาตอนมหาบาศบุตรของทศกัณฐ์ และบทละครตอนพิเภกคร่ำครวญหลังทศกัณฐ์ล้ม

  • บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี เป็นบทละครที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง 4 ตอนเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในการแต่งในสมุดไทยดำ โดยทรงพระราชนิพนธ์บทละครไม่เรียงตามลำดับก่อนหลังของเนื้อเรื่องบทละครเล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ บทละครเล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินทร์ บทละครเล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมืองและตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด และบทละครเล่ม 4 ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ์ 

  • บทละครรามเกียรติ์สมัยรัตนโกสินทร์

บทละครรามเกียรติ์ เป็นบทละครในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชประสงค์จะรวบรวมบทละครรามเกียรติ์ทั้งหมดให้เป็นเรื่องเดียวกัน โปรดให้มีการประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์และพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง เป็นบทละครที่มีความยาวมากที่สุดในรามเกียรติ์ทุกเรื่องในภาษาไทย เป็นวรรณคดีเขียนในสมุดไทย 117 เล่มสมุดไทย

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 มีความเยิ่นเย้อและยาวเกินไป ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ประกอบการเล่นโขน จึงทรงคัดเลือกเพียงบางตอนคือ บทละครตั้งแต่หนุมานถวายแหวนแก่นางสีดาจนถึงทศกัณฐ์ล้ม นำมาพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ใช้สำหรับเล่นโขนในพระราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือ 36 เล่มสมุดไทย

En (11).jpgในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพิ่มอีกหนึ่งสำนวนคือ ตอนพระรามเดินดง เป็นหนังสือ 4 เล่มสมุดไทย นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่องนารายณ์ปราบนนทกและพระรามเข้าสวนพระพิราพเพิ่มขึ้นอีก 2 ตอน รวมทั้งมีการปรับปรุงบทละครเรื่องรามเกียรติ์อีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนขึ้นมีทั้งหมด 10 ชุดคือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา ชุดนาคบาศ ชุดอภิเษกสมรส ชุดนางลอย ชุดพิธีกุมภนียาและชุดพรหมาสตร์

ที่มา:https://th.wikipedia.org

เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดงโขน ใช้การแต่งกายแบบยืนเครื่อง ซึ่งเป็นการแต่งกายจำลองเลียนแบบจากเครื่องทรงต้นของพระมหากษัตริย์แบบโบราณที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา แบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายมนุษย์ เทวดา พระ นาง ฝ่ายยักษ์ และฝ่ายลิง

  • ตัวพระ พ

ผู้แสดงตัวพระจะสวมเสื้อแขนยาวปักดิ้นและเลื่อม ประดับด้วยปะวะหล่ำ มีอินธนูที่ไหล่และพาหุรัด สวมกรองศอทับด้วยทับทรวง สังวาลและตาบทิศ ส่วนล่างสวมสนับเพลาไว้ข้างใน นุ่งผ้านุ่งยกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวและชายแครงห้อยอยู่ ประดับด้วยสุวรรณประกอบ รัดเอวด้วยรัดพัสตร์ คาดปั้นเหน่ง ศีรษะสวมชฎา ประดับด้วยดอกไม้เพชรที่ด้านซ้าย ดอกไม้ทัดที่ด้านขวา มีอุบะ ตามตัวสวมเครื่องประดับต่าง ๆ ประกอบด้วยกำไลเท้า ธำมงรค์ แหวนรอบ กรรเจียกและทองกร แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขนในการแสดง แต่ภายหลังไม่เป็นที่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น

  • ตัวนาง น

ผู้แสดงตัวนางจะสวมเสื้อในนางแขนสั้นเป็นชั้นใน มีพาหุรัดแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ประดับด้วยปะวะหล่ำ สวมกรองศอ สะอิ้งและจี้นาง ส่วนล่างนุ่งผ้านุ่งยกจีบหน้า คาดปั้นเหน่ง ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลวหรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ประดับด้วยดอกไม้ทัดที่ด้านซ้าย ดอกไม้ทัดที่ด้านขวา มีอุบะ ตามตัวสวมเครื่องประดับต่าง ๆ ประกอบด้วยธำมงรค์ กำไลเท้า แหวนรอบ กำไลตะขาบ กรรเจียกและทองกร แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ โดยไม่สวมหัวโขน

  • ตัวลิงล

ผู้แสดงตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายกับตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวงทักษิณาวรรต สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละครซึ่งมีอยู่ประมาณสี่สิบชนิด การแต่งกายของตัวลิงคือหนุมาน ซึ่งเป็นทหารเอกของพระราม สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้นและเลื่อมลายวงทักษิณาวรรต มีพาหุรัด ประดับด้วยแหวนรอบ ปะวะหล่ำ สวมกรองศอทับด้วยทับทรวง สังวาลและตาบทิศ ส่วนล่างสวมสนับเพลาไว้ข้างใน นุ่งผ้านุ่งยก ด้านหน้ามีชายไหวและชายแครงห้อยอยู่ ผ้าปิดก้นอยู่เบื้องหลัง หางลิง รัดสะเอว คาดปั้นเหน่ง ศีรษะสวมหัวโขนหัวหนุมาน ตามตัวสวมเครื่องประดับต่าง ๆ ประกอบด้วยกำไลเท้า ธำมงรค์ กรรเจียกและทองกร ถืออาวุธคือตรีเพชร

  • ตัวยักษ์ย

ผู้แสดงตัวยักษ์นั้น เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายกับตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้าเท่านั้น ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอว ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละครซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด การแต่งกายของตัวยักษ์คือทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นพญายักษ์ตัวสำคัญที่สุดในการแสดงโขน สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้นและเลื่อม ซึ่งในวรรณคดีสมมุติเป็นเกราะ ประดับด้วยแหวนรอบ ปะวะหล่ำ มีอินธนูที่ไหล่ สวมกรองศอทับด้วยทับทรวง พวงประคำคอ สังวาลและตาบทิศ ส่วนล่างสวมสนับเพลาไว้ข้างใน นุ่งผ้านุ่งยก ด้านหน้ามีชายไหวและชายแครงห้อยอยู่ ผ้าปิดก้นอยู่เบื้องหลัง รัดอกด้วยพระอุระ รัดเอวด้วยรัดพัสตร์ คาดปั้นเหน่ง ศีรษะสวมหัวโขนหัวทศกัณฐ์ ตามตัวสวมเครื่องประดับต่าง ๆ ประกอบด้วยกำไลเท้า ธำมงรค์ กรรเจียกและทองกร ถืออาวุธคือคันศร

สำหรับบ่งบอกถึงยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งนอกจากนั้นตัวละครอื่น ๆ จะแต่งกายตามแต่ลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ฤๅษี กา ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ สวมหัวโขนซึ่งมีการกำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นระบบและแบบแผน ใช้สำหรับกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร สีของเสื้อเป็นการบ่งบอกถึงสีผิวกายของตัวละครนั้น ๆ

ที่มา:https://th.wikipedia.org

 

ลักษณะบทโขน

ในการแสดงโขน เมื่อเริ่มแสดงวงปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเป็นเพลงเปิด เมื่อจบเพลงจึงจะเริ่มการแสดง ดำเนินเรื่องโดยใช้คำพากย์ และคำเจรจาเป็นหลัก1372944657-POM5066-o

การเล่นโขนแต่เดิมไม่มีบทร้องของผู้แสดงเหมือนละครใน ผู้แสดงทุกคนในสมัยโบราณต้องสวมหัวโขน ยกเว้นตัวตลกที่ใช้ใบหน้าจริงในการแสดง ทำให้ต้องมีผู้ทำหน้าที่สำหรับพากย์ และเจรจาถ้อยคำต่าง ๆ แทนตัวผู้แสดง ผู้พากย์เสียงนั้นมีความสำคัญในการแสดงโขนเป็นอย่างมาก ต้องเรียนรู้ และศึกษาทำความเข้าใจเรื่องราว และวิธีการแสดง จดจำคำพากย์ และใช้ปฏิภาณไหวพริบในเชิงกาพย์ กลอน

เพื่อสามารถเจรจาให้สอดคล้องถูกต้อง มีสัมผัสนอก สัมผัสในคล้องจองกับการแสดงของผู้แสดง ลักษณะบทโขนในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ  

  • บทร้อง 

บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น

บทร้องสร้อยเพลงการแสดงโขน

  • บทพากย์ 

บทพากย์ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง เมื่อพากย์จบหนึ่งบท ปี่พาทย์จะตีตะโพนท้าและตีกลองทัดต่อจากตะโพนสองที ผู้แสดงภายในโรงจะร้องรับว่า “เพ้ย” พร้อม ๆ กัน ซึ่งคำว่าเพ้ยนี่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้น มาจากคำว่า “เฮ้ย” ในการบัญชาศึกสงครามของแม่ทัพนายกอง ในปัจจุบันสำหรับบทพากย์เป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บท มีชื่อเรียกแตกต่างกัน วิธีพากย์บทโขนในการแสดง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ดังนี้

การพากย์เมืองหรือพากย์พลับพลาใช้สำหรับพากย์เวลาผู้แสดงตัวเอก หรือผู้แสดงออกท้องพระโรงหรือออกพลับพลา

การพากย์รถหรือพากย์พาหนะใช้สำหรับพากย์เวลาผู้แสดงเอ่ยชมพาหนะ และการจัดกระบวนทัพเช่น รถ ม้า ช้าง หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นพาหนะ หรือใช้พากย์เวลาผู้แสดงตัวเองทรงพาหนะตลอดจนชมไพร่พล โดยมีตัวอย่างบทพากย์กาพย์ฉบัง 16

การพากย์โอ้หรือการพากย์รำพันใช้สำหรับพากย์เวลาผู้แสดงมีอาการเศร้าโศกเสียใจ รำพันคร่ำครวญถึงคนรัก เริ่มทำนองตอนต้นเป็นการพากย์ ตอนท้ายเป็นทำนองการร้องเพลงโอ้ปี่ ซึ่งการพากย์ประเภทนี้จะให้ปี่พาทย์เป็นผู้รับเมื่อสิ้นสุดการพากย์หนึ่งบท มีความแตกต่างจากการพากย์ประเภทอื่นตรงที่มีเครื่องดนตรีรับ ก่อนที่ลูกคู่จะร้องรับว่าเพ้ย โดยมีตัวอย่างบทพากย์ยานี 11

การพากย์ชมดงใช้สำหรับพากย์เวลาผู้แสดงชมสภาพภูมิประเทศ ป่าเขา ลำเนาไพร และสัตว์ป่าน้อยใหญ่ เริ่มทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้องเพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำนองการพากย์ธรรมดา โดยมีตัวอย่างบทพากย์ฉบัง 16

การพากย์บรรยายใช้สำหรับพากย์เวลาบรรยายความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นบริบทการขยายความเป็นมาเป็นไปของสิ่งของนั้น ๆ หรือใช้สำหรับพากย์รำพึงรำพันใด ๆ โดยมีตัวอย่างบทพากย์ฉบัง 16

การพากย์เบ็ดเตล็ดใช้สำหรับพากย์ใช้ในโอกาสทั่ว ๆ ไปในการแสดง เป็นการพากย์เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จัดอยู่ในการพากย์ประเภทใด รวมทั้งการเอ่ยกล่าวถึงใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหนหรือพูดกับใคร โดยมีตัวอย่างบทพากย์ฉบัง 16

การแสดงโขนพรหมาศ(บทพากย์)

  • บทเจรจา

บทเจรจานั้น แตกต่างจากบทร้องและบทพากย์ตรงที่เป็นบทกวีแบบร่ายยาว มีการส่งและรับคำสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ใช้ถ้อยคำสละสลวย คล้องจอง มีสัมผัสนอกสัมผัสใน บทเจรจาในการแสดงโขนเป็นบทที่คิดขึ้นในขณะแสดง เป็นความสามารถและไหวพริบปฏิภาณเฉพาะตัวของผู้เจรจา ปัจจุบันบทเจรจามีการแต่งเตรียมไว้แล้ว ผู้พากย์บทเจรจาจะว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้น้ำเสียงในการเจรจาให้เหมาะกับตัวโขน ใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ของตัวละครในเรื่องเช่น เจรจาเสียงเทวดาก็ต้องปรับน้ำเสียงให้นุ่ม สุภาพ เจรจาเสียงยักษ์ก็ต้องปรับเสียงให้ดัง ดุร้ายและแกร่งกร้าว เจรจาตัวนางก็ต้องปรับเสียงให้นุ่ม อ่อนหวาน เป็นต้นcategory_01.jpg

การพากย์บทเจรจาใช้ผู้ชายเป็นผู้ให้เสียงไม่ต่ำกว่าสองคน เพื่อทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา บางครั้งมีการเหน็บแนมเสียดสีโต้ตอบระหว่างกัน ถ้าในการแสดงโขนมีบทร้อง ผู้พากย์และเจรจาจะต้องทำหน้าที่บอกบทให้แก่ผู้แสดงอีกด้วยเวลาแสดงผู้พากย์และเจรจาจะยืนประจำจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้เช่น โขงกลางแปลง จะยืนอยู่ใกล้กับจุดของตัวแสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือมนุษย์และยักษ์ โขนนั่งราว และโขนหน้าจอ จะยืนอยู่บริเวณริมฉากประตูซ้ายและขวาข้างละหนึ่งคน โขนโรงในจะนั่งเรียงติดกับคนร้องข้างละ 2 คน ดังตัวอย่างการบทพากย์ และเจรจาระหว่างพระลักษณ์ กับหนุมาน

บทเจรจาระหว่างพระลักษณ์ กับหนุมาน

ที่มา:https://th.wikipedia.org