หัวโขน

OLYMPUS DIGITAL CAMERAหัวโขน เป็นงานศิลปะชั้นสูง ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงโขนอย่างมิดชิด เป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ และงานศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตาเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ประณีตบรรจงตามแบบช่างไทย มีรูปลักษณะสวยงาม ลักษณะคล้ายหน้ากาก แตกต่างตรงที่เป็นการสร้างจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะทั้งหมด เจาะช่องเป็นรูกลมที่นัยน์ตาของหัวโขน ให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดงเพื่อการมองเห็น

เข็มแบ่งเป็น 2 ประเภทคือหัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง หมายความถึงหัวโขนที่สื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานรและสัตว์ต่าง ๆ สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบของศิลปะไทยและหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก หมายความถึงหัวโขนที่ทำขึ้นโดยการหล่อ ปั้น ฉีดและขึ้นรูปด้วยพลาสติกหรือกรรมวิธีอื่น ๆลงรักปิดทอง ประดับกระจก

พระพรตหัวโขนที่ใช้สำหรับแสดง แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของตัวละครคือ หัวโขนพงศ์นารายณ์ ประกอบด้วยเผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยาหัวโขนพรหมพงศ์และอสูรพงศ์ ประกอบด้วยพรหมผู้สร้างกรุงลงกาและอสูรพงศ์ในกรุงลงกา หัวโขนมเหศวรพงศ์ ประกอบด้วยพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและเทวดาต่าง ๆ หัวโขนฤๅษี ประกอบด้วยฤๅษีผู้สร้างกรุงอโยธยา ฤๅษีที่พระราม พระลักษมณ์และนางสีดาพบเมื่อคราวเดินดง หัวโขนวานรพงศ์ ประกอบด้วยพญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ เสนาวานร วานรเตียวเพชร วานรจังเกียงและพลลิงหรือเขนลิง หัวโขนคนธรรพ์ ประกอบด้วยเทพคนธรรพ์และคนธรรพ์ หัวโขนพญาปักษา ประกอบด้วยพญาครุฑ พญาสัมพาที พญาสดายุ และหัวโขนแบบเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วยหัวสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

ที่มา:https://th.wikipedia.org

วัสดุอุปกรณ์หัวโขน

  1. เลือกหุ่นแบบสำหรับทำหัวโขน
  2. กระดาษสาสำหรับพอกแบบ  
  3. ยางต้นรักหรือสีน้ำมันpageๅๅ-tile
  4. ใบตองแห้ง
  5. น้ำมันยาง
  6. ปูนแดง
  7. ผงชัน
  8. ทองคำเปลว
  9. กระจกสี พลอยกระจก
  10. หนังวัวแห้ง
  11. สี
  12. กาวแป้งเปียก
  13. ยางมะเดื่อ
  14. ลวดขนาดต่าง ๆ
  15. แม่พิมพ์หินสบู่
  16. ไม้ตีกระยัง
  17. ไม้เสนียด
  18. ไม้คลึงรัก
  19. มีดตัดกระดาษ
  20. เพชรตัดกระจก
  21. ไม้ตับคีบกระจก
  22. กรรไกร
  23. เข็มเย็บผ้า และด้าย
  24. สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่
  25. เขียงไม้
  26. แปรงทาสี และพู่กันขนาดต่าง ๆ

 

ขั้นตอนการทำหัวโขน

รายการ ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ตอน ครูสมชาย ล้วนวิลัย